Logan Lerman (LL)

Logan Lerman  (LL)

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ผิวงานขำ

ความงามของผิวพรรณเปลี่ยนไปตามกระแสนิยม? ในปัจจุบันสาวไทยชอบผิวขาวใส? จึงมีผลิตภัณฑ์มากมายให้ผู้บริโภคได้ใช้? เช่น? ครีมช่วยผิวขาวซึ่งส่วนใหญ่ผสมสารป้องกันแสงแดด? เพื่อป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต ?(ยูวี-บี และ ยูวี-เอ)? ซึ่งกระตุ้นเซลล์สร้างเม็ดสี? ส่วนสารผสมอื่น เช่นวิตามินซี? วิตามิน อี?? สารสกัดจากพืชหรือสมุนไพร? จะไม่ช่วยลดการสร้างเม็ดสีเท่าใดผสมเพียงเพื่อเป็นจุดขายให้ดูแตกต่างเท่านั้น? โดยธรรมชาติของสีผิว? สีผม และสีม่านตา? ในแต่ละเชื้อชาติจะแตกต่างกัน ?โดยมีพันธุกรรมเกือบร้อยหน่วยพันธุกรรมเป็นตัวควบคุม? ขนาดและจำนวนการกระจายของเซลล์สร้างเม็ดสีในทุกเชื้อชาติจะเท่ากันแต่ความสามารถของเซลล์ในการสร้างจำนวนเม็ดสี ?ขนาดของเม็ดสีและการกระจายของเม็ดสีในเซลล์ผิวหนัง? หรือการตอบสนองของเซลล์สร้างเม็ดสี? ต่อสิ่งกระตุ้น? เช่น รังสียูวี? ฮอร์โมน? โมเลกุลของสารอักเสบ (cytokine)? หรือสารเคมีซึ่งได้รับจากภายนอกจะแตกต่างกัน? ถ้ากล่าวโดยรวมก็คือ? ธรรมชาติของสีผิวแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันตามเหตุ(พันธุกรรม) และปัจจัย(สิ่งแวดล้อมซึ่งเปลี่ยนแปลง)? มีการแบ่งลักษณะสีผิวเป็น? 6? ชนิด? (6 skin phototypes; SPT ) โดยใช้ลักษณะสีผิวโดยชาติพันธ์??? การเปลี่ยนแปลงของผิวเมื่อผิวไหม้แดด(sunburn) ??และการคล้ำของสีผิวเมื่อได้รับแสงแดด? (suntan)
? ผิวหนังชนิดที่ 1 (SPT I) ผิวขาวมาก? ไหม้แดดง่าย? และไม่มีสีผิวแทน เช่น ?คนไอริสหรือสก๊อต? จะมีม่านตาสีฟ้า? ผมแดง? หน้าตกกระ
? ผิวหนังชนิดที่ 2 (SPT II)? ผิวขาว? ไหม้แดดง่าย? เกิดสีผิวแทนบ้าง เช่น ชาวสแกนดิเนเวีย? ?จะมีผมสีแดงหรือทอง? ม่านตาสีฟ้า? ตกกระจำนวนมาก
? ผิวหนังชนิดที่ 3 (SPT III) ผิวขาว ไหม้แดดบ้าง? ผิวแทนได้? เป็นผิวของชาวตะวันตก? ซึ่งมีผมสีทอง? หรือสีน้ำตาลอ่อน? ม่านตาสีน้ำตาล
? ผิวหนังชนิดที่ 4 (SPT IV) ผิวสีน้ำตาลอ่อน? ไหม้แดดเล็กน้อย? สีผิวแทนง่าย? ?เป็นผิวชาวจีน? ญี่ปุ่น? อินเดีย? และชาวตะวันออกกลาง? มีผมสีดำ? ม่านตาสีดำ?
? ผิวหนังชนิดที่ 5 (SPT V) ผิวสีน้ำตาล? ผิวไม่ไหม้แดด? และผิวสีแทนเข้ม เป็นผิวชาวเม็กซิกัน? อิยิปต์? มาเลย์? และสเปน? ?มีสีผมและม่านตาสีดำ
? วหนังชนิดที่ 6 (SPT VI) ผิวดำเข้ม? ไม่ไหม้แดด ไม่มีผิวแทน? เป็นผิวชาติอัฟริกัน ??สีผมสีดำ? ม่านตาสีดำ
ผิวคนไทยมี 2 ลักษณะคือ? เป็นผิวชนิดที่ 4?? คือ ผิวขาวแบบชาวจีน? และผิวชนิดที่ 5 คือผิวสีน้ำตาลซึ่งมีสีผิวแทนเข้ม?? ในวรรณคดีไทยจึงมีคำบรรยายความงามแบบของผิว 2 แบบคือ? ผิวขาวนวลใยเหมือนแตงร่มใบ ซึ่งเป็นลักษณะผิว ชนิดที่ 4?? และผิวงามขำคือ ผิวชนิดที่ 5 ?แต่กระแสปัจจุบันจะกล่าวเฉพาะความงามขาวใสจึงทำให้คนงามคมขำเกิดปัญหา? พยายามหาผลิตภัณฑ์เพื่อเปลี่ยนสีผิวให้ขาว? เมื่อเปลี่ยนไม่ได้ก็เลยกลายเป็นปมด้อยไปว่าโชคร้ายเกิดมาตัวดำ? แต่ถ้าพิจารณาแบบมีปัญญาก็จะภูมิใจในสีผิวคล้ำของตัวเอง ?สองประการ
1. สีผิวคล้ำเป็นสีผิวที่คนผิวขาวในประเทศที่พัฒนาแล้วอยากได้? จึงเห็นฝรั่งเข้ามาเมืองไทยเพื่ออาบแดดให้ผิวคล้ำลง ?ฝรั่งชาติตะวันตกที่มีรายได้สูงเท่านั้นที่จะมีโอกาสมาท่องเที่ยวให้สีผิวแทนได้? ดังนั้นจงภูมิใจกับสีผิวคล้ำเพราะเป็นความทันสมัยของชาติพัฒนา
2. สีผิวคล้ำเป็นวิวัฒนาการเพื่อการอยู่รอดของเผ่าพันธุ์? ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน? มีแสงแดดตลอดปี? ดังนั้นสีผิวคล้ำจะป้องกันอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลตได้อย่างดี? คนไทยจึงไม่เป็นมะเร็งผิวหนังเหมือนฝรั่งซึ่งชอบอาบแดด? และสีผิวคล้ำยังช่วยป้องกันรอยเหี่ยวย่นจากความเสื่อมของผิวหนังจากรังสีอัลตราไวโอเลตได้? ผิวคนไทย ชนิดที่ 5 จึงเป็นผิวเนียนอ่อนกว่าวัย? ดังนั้นจงภูมิใจกับผิวงามขำกันเถิด
แต่ยังมีหลายท่านยังทำใจไม่ได้ที่เกิดมางามขำ? อยากจะผิวขาวผ่องนวลใย? ก็มักจะซื้อผลิตภัณฑ์ที่กล่าวอ้างว่าช่วยเปลี่ยนสีผิวได้มาใช้อย่างฟุ่มเฟือย? ส่วนประกอบสำคัญ คือ สารปกป้องแสงแดด? ยากันแดดก็มีขายกันหลายประเภทอาจป้องกันได้ทั้งยูวี-เอ? และ/หรือยูวี-บี? ?โดยประสิทธิภาพของสารป้องกันแสงแดดมักจะอ้างถึง SPF? (Sun? protective factor) คือความสามารถในการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต บี (ยูวี-บี) จากเดิมเคยใช้ แค่ SPF20 ก็เพียงพอ? แต่ปัจจุบันมักใช้สูงเป็น SPF60? SPF100 ?บางชนิดสูงถึง SPF130? หลายท่านไม่เข้าใจอาจคิดว่าใช้ SPF สูงๆ จึงจะได้ผล? โดยหลักการที่ถูกต้องคนไทยไม่จำเป็นต้องใช้ยากันแดด SPF เกิน20? เพราะนิสัยคนไทยไม่ชอบแดด? ขี้ร้อน? ?ชอบหลบอยู่แต่ในร่ม ผิดกับฝรั่งถ้าเห็นแสงแดดจะวิ่งเข้าหา? และด้วยผิวคนไทยคล้ำแดดง่ายจึงปลอดภัยจากรังสียูวี? และสารป้องกันแสงแดด SPF100 ?จะป้องกันได้เฉพาะรังสี ยูวี-บี? แต่ยังไม่สามารถป้องกันรังสี ยูวี-เอ ???ซึ่งมีปริมาณสูงมากในแสงแดดได้? รังสียูวี-เอ จะกระตุ้นการสร้างสีผิวได้? ผิวจึงคล้ำแดดได้เหมือนเดิม? การหลบแดดจะช่วยให้ผิวขาวมากกว่าการใช้ยากันแดด? เพราะคนใช้ยากันแดดมักประมาท? โดยเข้าใจว่า SPF สูงแสดงว่ากันแดดได้หมด? การใช้ยากันแดดซึ่งมี SPF สูง? จะมีข้อเสีย คือ ราคาผลิตภัณฑ์จะแพง? และครีมมีสารป้องกันแสงแดดหลายชนิดโอกาสแพ้และการะคายเคืองจึงสูงกว่า? และชนิดซึ่งกันน้ำได้ยังก่อให้เกิดการอุดตัน? ดังนั้นหลายท่านเป็นสิวเพิ่มขึ้นหลังใช้ยากันแดด? สำหรับครีมหน้าขาวซึ่งมีจำหน่ายแบบขายตรงโดยไม่มีใบรับรองจาก อ.ย. ก็มักผสมสารอันตรายต้องห้าม เช่น? สารไฮโดรควิโนน? สารปรอท? ซึ่งจะก่อให้ผิวเสียการในระยะยาว ?ถ้ามีปัญหาควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังจะปลอดภัยกว่า
ดังนั้นก็อยากให้ผู้ซึ่งผิวคล้ำแดดง่ายเข้าใจธรรมชาติของผิวหนังว่าสีผิวได้ถูกกำหนดมาตั้งแต่เกิด? โดยพันธุกรรมของบิดามารดา? จึงยากที่จะเปลี่ยนได้? ก็คงต้องรอชาติหน้า? และถ้าต้องการผิวขาวผ่องก็ต้องเลือกผู้ให้กำเนิดใหม่? แต่ในชาตินี้จะทำอย่างไรจึงจะหมดทุกข์? ก็คงต้องทำใจและการรำพึงรำพันกับนิยาม ?คนผิวงามขำผิวเนียนอ่อนกว่าวัยและปราศจากภัยจากโรคมะเร็งผิวหนัง ?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น