Logan Lerman (LL)

Logan Lerman  (LL)

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552


ชิงชัน เป็นชื่อของต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ประเภทผลัดใบที่อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE ชนิดหนึ่งซึ่งก็คือต้นไม้ที่อยู่ในวงศ์เดียวกันกับ ต้นประดู่ นั่นเอง
ต้นไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์โดยเมล็ดและก็สามารถแพร่กระจายพันธุ์ตามป่าดิบแล้งตลอดจนถึงป่าเบญจพรรณทั่วไปยกเว้นเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้นที่ไม่สามารถแพร่กระจายพันธุ์ได้เป็นไม้กลางแจ้งที่สามารถขึ้นได้ดีในดินทุกประเภทและต้องการน้ำเพียงปานกลาง
ลักษณะของต้นไม้โดยรวม เปลือกจะมีความหนาซึ่งเป็นสีน้ำตาลอมเทาสามารถล่อนออกเป็นแว่นๆได้และมีเนื้อภายในเป็นสีเหลือง ใบนั้นจะเป็นใบประกอบแบบขนนก ดอกมีขนาดเล็กที่รวมกันเป็นช่อ ฝักเป็นรูปหอกแต่แบนส่วนหัวท้ายของฝักนั้นจะแหลม ส่วนระบบรากนั้นจะมีความลึกมาก
เนื่องจากไม้ชิงชันนั้นมีลักษณะที่แข็งและเหนียวรวมถึงมีลักษณะที่ดูสวยงามมากดังนั้นจึงนิยมนำมาทำเป็น
เครื่องเรือน เครื่องดนตรีต่างๆ ฯลฯ นอกจากประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมพื้นบ้านแล้วต้นไม้ชิงชันยังให้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพรอีกด้วย

ต้นกันเกรา เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ขึ้นโดยทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนจะออกดอกเป็น ช่อสีเหลือง มีกลิ่นหอมขจรขจาย ต้นกันเกรามีชื่อเรียกอื่นว่า มันปลา ตำเสา มะซูไม้ต้น นอกจากนี้ต้นกันเกราเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
กันเกรามีชื่อเรียกต่างกันไปคือ ภาคกลาง เรียก กันเกรา ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก มันปลา ส่วนภาคใต้ เรียก ตำแสง หรือตำเสา ซึ่งถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง อันมีชื่อเป็นมงคลและมีคุณสมบัติที่ดีในการใช้ประโยชน์ คือชื่อกันเกรา หมายถึง กันสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายไม่ให้มาทำอันตรายใดๆ ชื่อตำเสา คือ จะเป็นมงคลแก่เสาบ้านไม่ให้ปลวก มอด แมลงต่างๆเจาะกิน ชื่อมันปลา น่าจะเป็นลักษณะของดอกที่เหมือนกับไขมันของปลาเมื่อลอยน้ำไขมันของปลาในถ้วยน้ำแกง โดยเฉพาะช่วงข้าวใหม่ปลามันที่ปลาจะมีความมันและเอร็ดอร่อยเป็นที่สุด
ต้นกันเกรามีลักษณะต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึกไม่เป็นระเบียบ
ใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม แผ่นใบรูปมนขนาดกว้าง 2.5 - 3.5 เซนติเมตร ยาว 8 - 11 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือยาวเรียว ฐานใบแหลม โคนมน ใบเขียวมันวาว มีทรงพุ่งเป็นทรงฉัตรแหลมสวยงาม ดอก เริ่มบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม ผลกลมเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 มม. สีส้มแล้วเปลี่ยนไปเป็นสีแดงเลือดนกเมื่อแก่เต็มที่ มีเมล็ดขนาดเล็กเป็น จำนวนมากนิเวศวิทยา ขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณชื้น และตามที่ต่ำ ที่ชื้นแฉะใกล้น้ำ ทั่วทุกภาคของประเทศไทยออกดอก เมษายน - มิถุนายน เป็นผล มิถุนายน - กรกฎาคมขยายพันธุ์ โดยเมล็ด
ประโยชน์ได้แก่ เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทนทาน ใช้ในการก่อสร้าง นิยมใช้ทำเสาเรือน แก่นมีรสฝาดใช้เข้ายาบำรุงธาตุ แน่นหน้าอก เปลือกใช้บำรุงโลหิต ผิวหนังพุพอง ปลูกเป็น
ไม้ประดับ ลักษณะลำต้นที่สวยงามทั้งลวดลายของเปลือกและเนื้อไม้ เหมาะแก่การนำไปใช้ประโยชน์ทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ มีน้ำมันหอมระเหยที่เปลือก
กันเกรามีความสวยงามและกลิ่นหอมไม่เหมือนใคร ทั้งยังเป็นไม้มงคล 1 ใน 9 ชนิด เช่นเดียวกับ
ราชพฤกษ์ ขนุน ชัยพฤกษ์ ทองหลาง ไผ่สีสุก ทรงบาดาล สัก และพะยูง ที่คนนิยมนำมาใช้ในพิธีกรรมเมื่อเวลาก่อสร้างบ้านเรือนให้เป็นสิริมงคล นอกจากนั่นคนอีสานยังนำมาบูชาพระโดยเฉพาะเมื่อเวลางานบุญบวชนาคช่วงเดือนพฤษภาคมหรือเดือน 6 ของทุกปี ก่อนที่จะถึงวันบวชนาคผู้ที่จะบวชนาคต้องมีการเตรียมตัวเตรียมใจอย่างดี เรียกว่า การเข้านาค ผู้ที่จะบวชนาคซึ่งต้องมาเข้านาคนั้นจะต้องแต่งกายชุดสุภาพ มีผ้าแพรหรือผ้าขาวม้าพับอย่างงามพาดบ่า รวมทั้งละเว้นอบายมุขต่างๆ พิธีกรรมหนึ่งของการเข้านาคจะมีการแห่ดอกไม้ก็คือดอกมันปลาหรือดอกกันเกรา จุดเริ่มต้นของขบวนอยู่ที่วัดจากนั้นก็เคลื่อนขบวนแห่ไปตามถนน บ้านเรือนท้องไร่ ท้องนา เพื่อไปเก็บดอกมันปลามาบูชาพระ พร้อมที่จะเข้าพิธีอุปสมบท ในระหว่างการแห่ก็จะมีการตีกลองร้องเพลงไปโดยตลอด เวลาเริ่มแห่ก็ช่วงบ่ายๆพอขบวนจะกลับถึงวัดก็ใกล้ค่ำ พิธีกรรมต่อไปคือนำช่อของดอกมันปลาที่เก็บมาในขบวนแห่จุ่มน้ำแล้วสะบัดให้น้ำจากดอกมันปลาไปสรงพระพุทธรูปบูชาขอพรเป็นอันเสร็จพิธี ผู้ที่ร่วมพิธีกรรมตั้งแต่การแห่จนแล้วเสร็จพิธีจะมีพระ 1 รูป สามเณร คนที่จะอุปสมบท หญิงสาวที่อาจจะเป็นแฟนหรือเพื่อนๆของผู้ที่จะอุปสมบท รวมทั้งเด็กๆด้วย พิธีกรรมนี้จะทำจนกว่าจะถึงวันอุปสมบท เมื่อถึงวันอุปสมบทก็มีพิธีกรรมตามประเพณีซึ่งไม่ขอกล่าวในที่นี้

จามจุรี เป็นชื่อต้นไม้พันธุ์ Albizia lebbeck ในวงศ์ Fabaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียเขตร้อน
ไม้ที่ปัจจุบันรู้จักกันทั่วไปว่าจามจุรี มักหมายถึงจามจุรีแดง (Albizia saman หรือ Samanea saman) เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านสาขามาก มีใบขนาดเล็ก ดอกสีชมพู มีผลเป็นฝัก เมล็ดแข็ง ผลมีเนื้อสีชมพู รสหวาน
สัตว์เคี้ยวเอื้องชอบกินเป็นอาหาร จามจุรีแดง ยังมีชื่ออื่นอีก คือ "ก้ามปู" และ "ฉำฉา"
ต้นจามจุรีแดง หรือ ต้นก้ามปู ต้นแรกในประเทศไทยปลูกอยู่ภายใน
โรงเรียนอัสสัมชัญ โดยบาทหลวงรอมิเอล ซึ่งเป็นนักบวชที่อยู่ในวัดอัสสัมชัญ เป็นผู้นำพันธุ์มาจากเมืองไซง่อน ประเทศเวียดนาม ต่อมาภายหลังก็เป็นที่แพร่หลายและนิยมนำมาปลูกเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่เพื่อให้ร่มเงา
จามจุรีแดงเป็นต้นไม้ประจำ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดลำพูน
ทองกวาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Butea monosperma (Lam.)Taubert
วงศ์: LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ชื่อสามัญ: Bastard Teak, Bengal Kino, Flame of the Forest
[1]
ชื่ออื่นๆ: กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง), ดอกจาน (อิสาน)




ปีบทอง หรือ กาสะลองคำ[1] (อังกฤษ: Tree Jasmine; ชื่อวิทยาศาสตร์:Radermachera ignea (Kurz) Steenis ; ชื่ออื่น: กากี, สำเภาหลามต้น, จางจืด, สะเภา, อ้อยช้าง) เป็นไม้ต้นผลัดใบในวงศ์ BIGNONIACEAE สูงประมาณ 10 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ใบเป็นประเภทใบประกอบแบบ 2-3 ชิ้น ใบย่อยรูปไข่ปลายใบแหลม ขึ้นตามธรรมชาติบนเทือกเขาหินปูนที่ค่อนข้างชื้น พบตั้งแต่พม่าตอนใต้ ไปถึงเกาะไหหลำ
ปีบทอง เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล
จังหวัดเชียงราย และเป็นเป็นพรรณไม้ประจำมหาลัยสองที่ คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายเรียกว่า "กาซะลองคำ" และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเรียกว่า "ปีปทอง"
ดอก สีเหลืองอมส้ม หรือสีส้ม ออกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น กระจุกละ 5 - 10 ดอก บานไม่พร้อมกัน กลีบเลี้ยงรูปถ้วยสีม่วงแดง กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ยาว 4 - 7 ซม. ปลายเป็นแฉกสั้น ๆ 5 แฉก ผลเป็นฝัก ยาว 26 - 40 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก